วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ไส้ดินสอทำมาจากอะไร

ไส้ดินสอดำ: ที่ใช้ทำการบ้านกันนั้นทำมาจากแร่แกรไฟต์ โดยนำแร่แกรไฟต์มาผสมกับดินเหนียวเพื่อให้มีความแข็งต่าง ๆ กัน แร่แกรไฟต์หรือแร่ดินสอดำ เป็นแร่ที่เป็นธาตุธรรมชาติ เป็นอัญรูปหนึ่งของคาร์บอนเช่นเดียวกับถ่านหินและเพชร แร่แกรไฟต์มีลักษณะทึบแสง วาว อ่อน ลื่นมือ มีสีดำหรือสีเทาคล้ายเหล็ก แร่แกรไฟต์พบเป็นผลึก เป็นแผ่น หรือเป็นเกล็ดอยู่ในสายแร่ หรือเป็นชั้นหรือกระจัดกระจายทั่วไปในหินแปร นอกจากนั้นแร่แกรไฟต์ยังนำความร้อนและกระแสไฟฟ้าได้ด้วย ประโยชน์ของแร่แกรไฟต์นอกจากใช้ทำไส้ดินสอแล้ว ยังใช้ทำเบ้าหลอมโลหะชนิดทนไฟ ใช้ผสมน้ำมัน ทำน้ำมันหล่อลื่น และใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในเตาถลุงไฟฟ้า 

แกรไฟต์: เป็นธาตุคาร์บอนในรูปแบบหนึ่ง จัดเป็นแร่เนื้ออ่อนที่มีโครงสร้างเป็นเกล็ดบางเป็นชั้นๆ เกาะกันอย่างไม่แข็งแรงนักและสามารถหลุดลอกได้ง่าย โดยการที่แกรไฟต์สามารถทำให้เกิดรอยบนกระดาษ หรือวัสดุได้นั้น เกิดจากการที่เมื่อกดแท่งแกรไฟต์ลงบนพื้นผิววัสดุหรือกระดาษ แกรไฟต์ชั้นบางๆ จะหลุดร่อน และลอกติดไปบนพื้นผิววัสดุทำให้เกิดรอยสีดำขึ้น


ไส้ดินสอทำมาจากอะไร
  

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ทองคำ : gold

ทองคำ : gold  ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีความแวววาวอยู่เสมอ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด  เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด



ทองคำ

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กรด - เบส คืออะไร


สารละลายกรด คือสารละลายที่มีรสเปรี้ยว เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง หรือทำปฏิกิริยากับโลหะได้ แก๊ส H 2 และ เกลือ
สารละลายเบส คือสารละลายที่มีรสขม เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน หรือมีลักษณะลื่นๆ

นิยามของกรด-เบส
Arrhenius Concept
กรด คือ สารประกอบที่มี H และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H + หรือ H 3O +
เบส คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH -
ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คือ สารประกอบต้องละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมสารประกอบบางชนิดเช่น NH 3 จึงเป็นเบส

Bronsted-Lowry Concept
กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน ( proton donor)แก่สารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน ( proton acceptor)จากสารอื่น
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงเป็นการถ่ายเทโปรตอนจากกรดไปยังเบสเช่น แอมโมเนียละลายในน้ำ
NH 3(aq) + H 2O (1)  NH 4 + (aq) + OH - (aq)
base 2 ........ acid 1 ........ acid 2 ........ base 1

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กฟผ.แม่เมาะ แจง ไม่ใช่ 'ไซยาไนด์' ยัน สารเคมีรั่วไหล ปลอดภัยแล้ว


       กฟผ.แม่เมาะ แจง เหตุสารเคมีรั่วไหล จนต้องอพยพพนักงาน ยัน ไม่ใช่ 'สารไซยาไนด์' แต่เป็น 'กรดไฮโดรคลอริก' มีกลิ่นฉุน ล่าสุด สามารถเข้าทำงานปกติได้แล้ว ไร้คนเจ็บหรือเป็นอันตราย เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 6 พ.ค.61 นายประทีป พันธ์ยก หมวดความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มปอ.-หม. กฟผ.แม่เมา  อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นำผู้สื่อข่าวลงพื้นที่จุดที่เกิดสารเคมีรั่วไหล ที่บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน 4-7
  
      พร้อมเปิดเผยว่า จากกรณีที่มีสื่อบางสำนักได้นำเสนอข่าวออกไปว่าที่จุดดังกล่าวมีสารไซยาไนด์รั่วไหลนั้นขอชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงเพราะที่ กฟผ.ไม่ได้นำสารไซยาไนด์รั่วไหลนั้นขอชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงเพราะที่ กฟผ.ไม่ได้นำสารเคมีดังกล่าวมาใช้ แต่ยอมรับว่าบริเวณจุดข้อต่อใกล้กับใต้ถังที่เก็บกรดไฮโดรคลอริก ซึ่งใช้ในการปรับสภาพน้ำ เกิดมีการรั่วหรือซึมเพียงเล็กน้อย ลักษณะเหมือนน้ำหยด ซึ่งกรดดังกล่าวเมื่อถูกน้ำจะเกิดเกิดเป็นไอ เมื่อมีลมพัดมาจึงทำให้กระจายไปและมีกลิ่นฉุน ซึ่งตามมาตรการด้านความปลอดภัยจึงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย เพื่อรอการแก้ไข 


กรดไฮโดรคลอริก

กรดเกลือ หรือเรียกอีกชื่อ กรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นกรดที่มีใช้กันมากในอุตสาหกรรม มีสถานะเป็นของเหลวที่มีค่าความเข้มข้นต่างๆ เช่น กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น และกรดไฮโดรคลอริก 35%  และ 37% จัดเป็นกรดแก่ ใช้มากในการผลิตคลอไรด์ อุตสาหกรรมสี ชุบโลหะ ใช้ถลุงแร่เพื่อผลิต ดีบุก และแทนทาลัม, ใช้ในการปรับความเป็นกรด-ด่าง โดยเฉพาะสารที่เป็นด่างให้มีความเป็นกรด ใช้ Hydrolized แป้ง และโปรตีน เพื่อผลิตอาหารรูปแบบต่าง ๆ ใช้กัดผิว และทำความสะอาดผิวโลหะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ลักษณะเฉพาะ
กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ถูกค้นพบครั้งแรกด้วยนักเล่นแร่แปลธาตุชื่อ จารเบียร์ เฮย์ยัน มีลักษณะจำเพาะ ดังนี้
1. เป็นของเหลวไม่มีสีหรือมีสีใสออกเหลือง มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน ไม่เป็นสารไวไฟ
2. ระเหยเป็นไอได้รวดเร็ว ไอเป็นกรดมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ
3. เป็นกรดแก่
4. มีมวล 36.46 กรัม/โมล
5. ความหนาแน่น 1.18 กรัม/ลบ.ซม.
6. จุดหลอมเหลว -27.32 องศาเซลเซียส
7. จุดเดือด 110 องศาเซลเซียส

ประโยชน์ และการนำไปใช้
– ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี
– ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้มากในระบบบำบัดน้ำเสีย
– ใช้ในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
– ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
– ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
– ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ
– ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
– ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำหรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือใช้ฆ่าเชื้อได้โดยตรง

   ที่มา:https://www.thairath.co.th/content/1274604,http://www.siamchemi.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD/