2.3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

2.3.1 จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงาน


อิเล็กตรอนในอะตอมที่อยู่ ณ ระดับพลังงาน (energy levels หรือ

 shell) จะมีพลังงานจำนวนหนึ่ง ส้าหรับอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้

นิวเคลียสมากที่สุดจะมีพลังงานน้อยกว่าพวกที่อยู่ไกลออกไป ยิ่งอยู่

ไกลมากยิ่งมีพลังงานมากขึ้น โดยกำหนดระดับพลังงานหลักให้เป็น

n ซึ่ง n เป็นจ้านวนเต็มคือ 1, 2, … หรือตัวอักษรเรียงกันดังนี้  จำนวน

อิเล็กตรอนที่จะมีได้ในแต่ละระดับพลังงานหลักต้องเท่ากับหรือไม่

เกิน 2n2 และจำนวนอิเล็กตรอนในระดับนอกสุดจะต้องไม่เกิน 8 


2.3.2 ระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย

____๘

        จากการศึกษาสเปกตรัมของธาตุต่างๆ พบว่าในระดับพลังงาน

หลัก (n) ยังประกอบด้วยระดับพลังงานย่อยหรือเรียกว่า ซับเซลล์ 

(sub-levels หรือ sub-shells) โดยก้าหนดเป็นสัญลักษณ์คือ s p d 

และ f ซึ่งในแต่ละระดับพลังงานย่อยจะมีอิเล็กตรอนได้ไม่เท่ากันและ

มีพลังงานไม่เท่ากัน กล่าวคือ ระดับพลังงานย่อย s มีพลังงานต่ำกว่า 

p ต่ำกว่า d ต่ำกว่า f ตามล้าดับ ในระดับพลังงานย่อยยังประกอบด้วย

ออร์บิทัล (orbital) ซึ่งในแต่ละออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 2 

อิเล็กตรอน ดังนี้

      ระดับพลังงานย่อย s มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 2 อิเล็กตรอน มี 1 

ออร์บิทัล

      ระดับพลังงานย่อย p มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 6 อิเล็กตรอน มี 3 

ออร์บิทัล
      

      ระดับพลังงานย่อย d มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 10 อิเล็กตรอน มี 

ออร์บิทัล

      ระดับพลังงานย่อย f มีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 14 อิเล็กตรอน มี 7 

ออร์บิทัล




2.3.3 ออร์บิทัล

          

      ระดับพลังงานที่หนึ่ง n = 1 (shell K) ปริมาณอิเล็กตรอนที่ควร

มีอยู่ 2(1)2 = 2

      ระดับพลังงานที่สอง (n = 2) ปริมาณอิเล็กตรอนสูงสุดที่ควรมี

ได้ = 2(2)2 = 8
      

      ระดับพลังงานที่สาม (n = 3) ปริมาณอิเล็กตรอนสูงสุดที่ควรมี

ได้ = 2(3)2 = 18
      

      ระดับพลังงานที่สี่    (n = 4) ปริมาณอิเล็กตรอนสูงสุดที่ควรมี

ได้ = 2(4)2 = 32

      

2.3.4 หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

    

      ในการบรรจุอิเล็กตรอนหรือการจัดเรียงอิเล็กตรอนลงในออร์บิทัล

จะต้องยึดหลักในการบรรจุอิเล็กตรอนของอะตอมหนึ่งๆ ลงในออร์บิ

ทัลที่เหมาะสมตามหลักดังต่อไปนี้

           1) หลักของเพาลี (Pauli exclusion principle) กล่าวว่า 

“ไม่มีอิเล็กตรอนคู่หนึ่งคู่ใดในอะตอมที่มีเลขควอนตัมทั้งสี่เหมือนกัน

ทุกประการ” นั่นคืออิเล็กตรอนคู่หนึ่งในออร์บิทัลจะมีค่า n, ℓ, mℓ 

เหมือนกันได้ แต่ต่างกันที่สปิน
 

          2) หลักของเอาฟ์บาว (Aufbau principle) มีวิธีการดังนี้

              2.1) สัญลักษณ์วงกลม O,  หรือ _ แทน ออร์บิทัล
                  

                     ลูกศร ↑↓ แทน อิเล็กตรอน 1 ตัว ที่สปิน ขึ้น-ลง
                

                     ↑↓ เรียกว่า อิเล็กตรอนคู่ (paired electron)
       

                     ↑  เรียกว่าอิเล็กตรอนเดี่ยว (single electron)



                   2.2) บรรจุอิเล็กตรอนเข้าไปในออร์บิทัลที่มีระดับ

พลังงานต่ำจนครบจำนวนก่อน

         3) กฎของฮุนด์ (Hund’s rule) กล่าวว่า “การบรรจุอิเล็กตรอน

ในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากัน (degenerate orbital) จะบรรจุ

ในลักษณะที่ท้าให้มีอิเล็กตรอนเดี่ยวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้” ออร์

บิทัลที่มีระดับพลังงานมากกว่า 1 เช่น ออรฺบิทัล p และ d เป็นต้น




ระดับพลังงานหลัก
จำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้สูงสุด
ระดับพลังงานย่อยที่มีได้
n = 12
22
1s2
n = 22
82
2s2   2p6
n = 32
182
3s2   3p6    3d10
n = 42
322
4s2   4p6    4d10    4f14
n = 52
322
5s2   5p6    5d10    5f14


จากการเรียงอิเล็กตรอนของธาตุในระดับพลังงานหลักทำให้ทราบว่า
1.    จำนวนระดับพลังงานหลักของอิเล็กตรอน ทำให้ทราบว่าธาตุนั้น
อยู่คาบใด ถ้าธาตุมีจำนวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนเท่ากัน 
แสดงว่าธาตุนั้นอยู่ในคาบเดียวกัน เช่น
Mg มีเลขอะตอม 12 มีการจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานดังนี้ 2, 8, 
2   Mg มี 3 ระดับพลังงาน มีเลขอะตอม 16 มีการจัดอิเล็กตรอนใน
ระดับพลังงานดังนี้ 2, 8, 6   S มี 3  ระดับพลังงาน  
แสดงว่า Mg และ S อยู่ในคาบเดียวกัน

2.จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน หรืออิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุด ทำให้ทราบหมู่ของธาตุ ถ้าธาตุมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน แสดงว่าธาตุนั้นอยู่ในหมู่เดียวกัน เช่น 
Na    มีเลขอะตอม 11     มีการจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานดังนี้ 2, 8, 1    Na   มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
K   มีเลขอะตอม  19     มีการจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานดังนี้ 2, 8,8, 1   K มี เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 
 แสดงว่า ธาตุ Na และ K อยู่ในหมู่เดียวกัน

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
            การจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก ทำให้แต่ละระดับ
พลังงานมีจำนวนอิเล็กตรอนมากจึงเกิดปัญหาว่าอิเล็กตรอนเหล่านั้น
อยู่ในระดับพลังงานเดียวกันได้อย่างไร ทำไมจึงไม่ผลักกัน เพื่อแก้
ปัญหาดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับระดับพลังงาน
ย่อยเพื่อกระจายอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานหลัก เข้าสู่ระดับ
พลังงานย่อย โดยอาศัยรูปแบบโคจรของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียส
เป็นเกณฑ์ในการแบ่งอิเล็กตรอนเป็นกลุ่มย่อย ๆ และเรียกรูปแบบวง
โคจรนี้ว่าออร์บิทัล (Orbital) โดย 1ออร์บิทัลจะมีอิเล็กตรอนได้ไม่
เกิน 2 อิเล็กตรอน ระดับพลังงานย่อยมี 4 ระดับ คือ s, p, d, f โดย
ระดับพลังงานย่อยมี
มี 1 ออร์บิทัล บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุด 2 อิเล็กตรอน
มี 3 ออร์บิทัล บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุด 6 อิเล็กตรอน
มี 5 ออร์บิทัล บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุด 10 อิเล็กตรอน
f  มี 7 ออร์บิทัล บรรจุอิเล็กตรอนได้สูงสุด 14 อิเล็กตรอน

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย

1.จัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยต่าง ๆ จะต้องจัดเข้าในระดับพลังงานย่อยที่มีพลังงานต่ำสุดก่อนแล้วจึงจัดเข้าสู่ระดับพลังงานย่อยที่มีพลังงานสูงขึ้น(ตามหลักของเอาฟบาว) ดังแผนผังต่อไปนี้

1s    2s   2p  3s   3p  4s  3d  4p   5s   4d    5p   6s   4f    5d   6p    7s
     เช่น  17Cl  มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
1s2   2s2   2p6   3s2   3p5

21Se  มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
1s2   2s2   2p6   3s2   3p6   4s2   3d1

2. อิเล็กตรอน 2 ตัว ที่อยู่ในออร์บิทัลเดียวกัน จะต้องมีทิศทางการ
เคลื่อนที่สวนทางกันโดยแสดงทิศทางด้วยลูกศร ตามหลักการของเพาลี

3.การจัดอิเล็กตรอนเข้าสู่ระดับพลังงานย่อย ถ้าอิเล็กตรอนบรรจุ
อยู่กึ่งหนึ่งหรือบรรจุเต็มออร์บิทัลจะมีโครงสร้างแบบ
เสถียร    เช่น 24Cr  มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย 
ดังนี้
       1s2   2s2   2p6   3s2   3p6   4s1   3d5  ไม่ใช่ 1s2   2s2   2p6   3s2   3p6   4s2   3d4      
       
เพราะโครงสร้างแบบแรกเสถียรกว่า เพราะ 4s และ 3d จะบรรจุกึ่ง
หนึ่ง 
       
หรือเขียนโครงสร้างของอิเล็กตรอนแบบย่อ ๆ ได้ว่า (Ar) 4s1   3d5 

       ข้อสังเกตที่ได้จากการใช้จัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

1.เลขอะตอมคู่จะอยู่ในหมู่คู่ เลขอะตอมคี่จะเป็นธาตุในหมู่คี่ เช่น
           
            ธาตุ 14Si  จะเป็นธาตุในหมู่ 4
           
            ธาตุ 11Na จะเป็นธาตุในหมู่ 1

2. ธาตุหมู่ IA และ IIA ตั้งแต่คาบ 3 ขึ้นไป จะมีจำนวนอิเล็กตรอน

ในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้นเป็น 8 เสมอ เช่น
       
         11Na จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 1         12Mg จะจัด
เรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 2
       
         19K จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 8, 1     20Ca จะจัดเรียง
อิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 8, 2

3.ธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIIA   ตั้งแต่หมู่ที่ IIIA คาบ 4 เป็นต้นไป    จะมี
จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้น
เป็น 18 เสมอ  เช่น
       
      31Ga  2, 8, 18, 3  (หมู่ 3 คาบ 4)
      33As  2, 8, 18, 5  (หมู่ 5 คาบ 4)

4.ถ้าธาตุนั้นมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามข้อ 2 และ 3 คือมี
จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้น มี
ค่าตั้งแต่ 9 – 18  แต่วงนอกสุดมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน
เป็น 1หรือ 2 นักเรียนก็ทำนายได้ทันทีว่าเป็นธาตุแทรนซิชัน เช่น
29Cu 2, 8, 18, 1 ไม่ใช่เป็นธาตุหมู่ 1 แต่เป็นธาตุแทรนซิชันจัดเรียง
อิเล็กตรอนเป็น 2, 8,18, 1
23V 2, 8, 8, 5 ไม่ใช่เป็นธาตุหมู่ 1 แต่เป็นธาตุแทรนซิชันจัดเรียง
อิเล็กตรอนเป็น 2, 8,11, 2
      
หมายเหตุ ธาตุแทรนซิชันที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 21 – 30 จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 2 ยกเว้น Cuกับ Cr จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น1

ที่มา:https://sites.google.com/site/xatxmlaeatarangthatu1/tarang-thatu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น