2.1 แบบจำลองอะตอม

2.1.1แบบจำลองอะตอมของดอลตัน







       ในปี พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803)  จอห์น ดอลตัน (John Dalton)  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอม เพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ  ซึ่งสรุปได้ดังนี้
            1. ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆหลายอนุภาคเรียกอนุภาคเหล่านี้ว่า “อะตอม” ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้
            2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน แต่จะมีสมบัติ แตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น
            3. สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยา เคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ
จอห์น ดอลตัน ชาวอังกฤษ เสนอทฤษฎีอะตอมของดอลตัน
       – อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด แบ่งแยกอีกไม่ได้
       – อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน    
      -อะตอมต้องเกิดจากสารประกอบเกิดจากอะตอม
       ของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกันทางเคมี
     ทฤษฎีอะตอมของดอลตันใช้อธิบายลักษณะและสมบัติของอะตอมได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ต่อมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อมูล บางประการที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของ ดอลตัน  เช่น  พบว่าอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีมวลแตกต่างกันได้  
ลักษณะแบบจำลองอะตอมของดอลตัน
ทรงกลมตันมีขนาดเล็กที่สุดซึ้งแบ่งแยกอีกไม่ได้

2.1.2. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
เ                เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของก๊าซโดยใช้หลอดรังสีแคโทด
หลอดรังสีแคโทด
        เป็นเครื่องที่ใช้ทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าโดยหลอดรังสีแคโทดจะมีความดันต่ำมาก และความต่างศักย์สูงมาก วิลเลียม ครูกส์ได้สร้างหลอดรังสีแคโทดขึ้นมาโดยใช้แผ่นโลหะ 2 แผ่นเป็นขั้วไฟฟ้า โดยต่อขั้วไฟฟ้าลบกับขั้วลบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเรียกว่า แคโทด และต่อขั้วไฟฟ้าบวกเข้ากับขั้วบวกของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเรียกว่า แอโนด 
การค้นพบอิเล็กตรอน
      เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน ดัดแปลงหลอดรังสีใหม่ ดังรูป

           รังสีพุ่งจากด้าแคโทดไปยังด้านแอโนด และจะมีรังสีส่วนหนึ่งทะุลุออกไปกระทบกับฉากเรืองแสง ซึ่งฉากที่เรืองแสงมี Zns อยู่ หลังจากนั้นทอมสันได้เพิ่มขั้วไฟฟ้าเข้าไปในหลอดรังสีแคโทดดังรูป


      ปรากฎว่า รังสีนี้จะเบี่ยงเบนเข้าหาขั้วบวก แสดงว่า รังสีนี้ต้องเป็นประจุลบ แต่ไม่ทราบว่าเกิดจากก๊าซในหลอดรังสีแคโทด หรือเกิดจากขั้วไฟฟ้าทอมสันจึงทำการทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของก๊าซในหลอดรังสีแคโทด พบว่า ไม่ว่าจะใช้ก๊าซใดบรรจุในหลอดหรือใช้โลหะใดเป็นแคโทด  จะได้ผลการทดลองเหมือนเดิม  จึงสรุปได้ว่า อะตอมทุกชนิดมีอนุภาคที่มีประจุลบเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า "อิเล็กตรอน" 

การค้นพบโปรตอน
เนื่อง    
         จากอะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า และการที่พบว่าอะตอมของธาตุทุกชนิดประกอบด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของอะตอม จะต้องมีประจุบวกด้วย ออยแกน โกลด์สไตน์ (Eugen Goldstein) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทดลองเกี่ยวกับหลอดรังสีแคโทด โดยดัดแปลงหลอดรังสีแคโทด ดังรูป 

            





ผลการทดลองของโกสไตน์ 
        เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้า ปรากฏว่ามีจุดสว่างเกิดขึ้นทั้งฉากเรืองแสง ก. และฉากเรืองแสง ข.
       โกลสไตน์ได้อธิบายว่า  จุดเรืองแสงที่เกิดขึ้นบนฉากเรืองแสง ก. จะต้องเกิดจากที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก เคลื่อนที่ผ่านรูตรงกลางของแคโทด ไปยังฉากเรืองแสง  แต่ยังไม่ทราบว่ารังสีที่มีประจุไฟฟ้าบวกนี้เกิดจากอะตอมของก๊าซ หรือเกิดจากอะตอมของขั้วไฟฟ้า และมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่
       โกลสไตน์ได้ทดลองเปลี่ยนชนิดของก๊าซในหลอดแก้วปรากฏว่าอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกเหล่านี้มีอัตราส่วนประจุต่อมวลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซที่ใช้และเมื่อทดลองเปลี่ยนโลหะที่ใช้ทำเป็นขั้วไฟฟ้าหลายๆชนิดแต่ให้ก๊าซในหลอดแก้วชนิดเดียวกัน ปรากฏว่า ผลการทดลองได้อัตราส่วนประจุต่อมวลเท่ากันแสดงว่าอนุภาคบวกในหลอดรังสีแคโทดเกิดจากก๊าซ
ไม่ได้เกิดจากขั้วไฟฟ้า

สรุปแบบจำลองของทอมสัน
       จากผลการทดลอง ทั้งของทอมสันและโกลด์สไตน
        อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลมประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกและอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ กระจัดกระจายอย่างสม่ำเสมอในอะตอมอะตอมที่มีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนประจุบวกเท่ากับจำนวนประจุลบ






2.1.3. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด


       ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ได้ทำการทดลอง โดยการยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำดังรูป



ผลการทดลอง สรุปได้ดังนี้
      •  จุด X เป็นจุดที่อนุภาคแอลฟาผ่านไปยังฉากในแนวเส้นตรง แสดงว่า  ภายในอะตอมน่าจะมีพื้นที่ว่างเป็นจำนวนมาก เพราะ อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่ทะลุผ่านแผนทองคำเป็นแนวเส้นตร


•  จุด Y อนุภาคแอลฟาเบี่ยงเบนเล็กน้อย แสดงว่าภายในอะตอมควรมีอนุภาคบางอย่างรวมกันเป็นกลุ่มก้อนขนาดเล็ก มีมวลมากพอที่ทำให้อนุภาคแอลฟาวิ่งไปเฉียดแล้วเบี่ยงเบน


•  จุด Z อนุภาคแอลฟาสะท้อนกลับ แสดงว่าในอะตอมจะมีอนุภาคบางอย่างที่เป็นกลุ่มก้อน มีทวลมากพอที่ทำให้อนุภาคแอลฟาสะท้อนกลับ


การค้นพบนิวตรอน
   สาเหตุที่ค้นพบนิวตรอน
1. เนื่องจากมวลของอะตอมต่าง มักเป็น เท่า หรือมากกว่า เท่าของมวลโปรตรอนรวม
    รัทเทอร์ฟอร์ดสันนิษฐานว่า น่าจะมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งอยู่ในนิวเคลียส และอนุภาคนี้ต้องมีมวลใกล้เคียงกันกับมวลของโปรตรอนมาก และต้องเป็นกลางทางไฟฟ้า
2. ทอมสันศึกษาหามวลของอนุภาคบวกของ Ne ปรากฎว่า อนุภาคบวกนี้มีมวล เท่า
      ผลการทดลองนี้สนับสนุนว่าจะต้องมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งอยู่ในนิวเคลียส
    เชดวิก ได้ยิงอนุภาคแอลฟาไปยัง Be ปรากฎว่าได้อนุภาคชนิดนึ่งออกมา

    ซึ่งมีมวลใกล้เคียงกับมวลของโปรตรอนและไม่มีประจุไฟฟ้า เรียกอนุภาคนี้ว่า"นิวตรอน"
      


สรุปแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด 
      อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง นิวเคลียสมีขนาดเล็ก แต่มีมวลมากและมีประจุเป็นบวก ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุเป็นลบ และมีมวลน้อยมาก จะวิ่งอยู่รอบนิวเคลียสเป็นบริเวณกว้าง




2.1.4. แบบจำลองอะตอมของโบร์


     โบร์ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมขึ้นมาโดยนำแบบจำลองอะตอมของรัทฟอร์ดมาแก้ไข เขาศึกษาสเปกตรัมการเปล่งแสงของธาตุ โดยบรรจุแก๊สไฮโดรเจนในหลอดปล่อยประจุ จากนั้นให้พลังงานเข้าไป

ผลการทดลอง         
             อิเล็กตรอนเคลื่อนจากขั้วบวกไปขั้วลบชนกับแก๊สไฮโดรเจน จากนั้นเปล่งแสงออกมาผ่านปริซึมทำให้เราเห็นเป็นเส้นสเปกตรัมสีต่าง ๆ ตกบนฉากรับภาพ
สรุปผลการทดลอง          

       การเปล่งแสงของธาตุไฮโดรเจน เกิดจากอิเล็กตรอนเปลี่ยนระดับพลังงานจากวงโคจรสูงไปสู่วงโคจรต่ำ พร้อมทั้งคายพลังงานในรูปแสงสีต่าง ๆ

สรุปแบบจำลองอะตอมของโบร์

       1. อิเล็กตรอนจะอยู่กันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเรียกว่า “ระดับพลังงาน”





        2. อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานวงนอกสุดเรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน (Valent electron)จะเป็นอิเล็กตรอนที่เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้
        3. อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานวงในอยู่ใกล้นิวเคลียส จะเสถียรมากเพราะประจุบวกจากนิวเคลียสดึงดูด
ไว้อย่างดี ส่วนอิเล็กตรอนระดับพลังงานวงนอกจะไม่เสถียรเพราะนิวเคลียสส่งแรงไปดึงดูดได้น้อยมาก 
        4. ระดับการพลังงานวงในจะอยู่ห่างกันมาก ส่วนระดับพลังงานวงนอกจะอยู่ชิดกันมาก
        5. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนในระดับถัดกัน อาจเปลี่ยนข้ามระดับ
พลังงานกันก็ได้

    

  

       สเปกตรัม  หมายถึง  อนุกรมของแถบสีหรือ หรือเส้นที่ได้จากการผ่านพลังงานรังสีเข้าไปในสเปกโตรสโคป ซึ่งทำให้พลังงานรังสีแยกออกเป็นแถบหรือเป็นเส้นที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ เรียงลำดับกันไป

         สเปกโตรสโคป (Spectroscope) หรือสเปกโตรมิเตอร์ (Spectrometer) หมายถึง  เครื่องมือที่ใช้แยกสีตามความถี่  หรือเครื่องมือที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับสเปกตรัม สเปกตรัม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
1. สเปกตรัมแบบต่อเนื่อง (Continuous  spectrum)
2. สเปกตรัมไม่ต่อเนื่อง  (Discontinuous  spectrum)
พลังงานรังสีเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอะตอมจะเรียกว่า   “อะตอมมิกสเปกตรัม (Atomic  spectrm) ”







      ความยาวคลื่น (Wavelength)  (  แลมบ์ดา ) หมายถึง  ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ครบ  1  รอบพอดี  มีหน่วยเป็นเมตร ( m )  
หรือหน่วยย่อยของเมตร  เช่น  นาโนเมตร (nm) โดย    1   nm  =   10-9  เมตร

       ความถี่ของคลื่น     n  (นิว)  หมายถึง  จำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งในเวลา  1  วินาที  
มีหน่วยเป็นจำนวนรอบต่อวินาที หรือ เฮิร์ตซ์ ( Hertz)  หรือ  Hz
        คลื่นที่จะศึกษากันในที่นี้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง  380  ถึง  750  nmซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่มีความยาวและความถี่ที่ประสาทตาของคนจะรับได้ ้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงดังกล่าวนี้ว่า  “แสงขาว (Visibel  light)” 

     เมื่อให้แสงขาวส่องผ่านปริซึม  แสงขาวจะแยกออกเป็นแถบสีต่าง ๆ ต่อเนื่องกัน  7  สี  เหมือนสีรุ้ง คือ  สีม่วง  คราม  น้ำเงิน  เขียว  เหลือง  ส้ม  และแดง  นักวิทยาศาสตร์เรียกแถบสีต่อเนื่องกันทั้ง  7  สีนี้ว่า  “ สเปกตรัมของแสงสีขาว ”   


ตาราง   แถบสีของสเปกตรัมของแสงขาว

สีของสเปกตรัม
ความยาวคลื่น (nm)
ม่วง
คราม
น้ำเงิน
เขียว
เหลือง
ส้ม
แดง
380  -   420
420  -  460
460  -  490
490  -  580
580  -  590
590  -  650
650  -  700


มักซ์  พลังค์ (Max  Planck)  นักวิทยาศาสตร์  ชาวเยอรมัน  ได้พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งและพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีส่วนสัมพันธ์กับความถี่และความยาวของคลื่น
โดยสรุปเป็นกฎว่า
            “  พลังงานของคลื่นแม่เหล็กแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่นนั้น ”

เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้
                         
                                         เมื่อ        E    =  พลังงานของ             คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (หน่วยเป็น จูล )
                                                        h  =  ค่าคงที่ของพลังค์ ( Plank , constant)   =  6.625  x  10-34  Js
                                                         นิว  =  ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (Hz  หรือ  s-1)


      c  =   2.99 x  108  ms-1  หรือ  โดยประมาณ  c  =    3.0 x  108  ms-1                                     
                                                                     




สรุปได้ว่า    


เส้นสเปกตรัมของธาตุ 
            เส้นสเปกตรัมของธาตุ เป็นสมบัติเฉพาะของธาตุหนึ่ง ประกอบด้วยเส้นสเปกตรัมหลายเส้น ธาตุต่างชนิดกันมีเส้นสเปกตรัมต่างกัน แต่อาจมีเส้นสเปกตรัมบางเส้นเหมือนกันได้

            สีเปลวไฟของไอออนของโลหะต่างชนิดกัน ให้สีต่างกัน ได้จากการทำ  Flame test       โดยการเผาสารประกอบของธาตุด้วยลวดแพลทินัมหรือลวมนิโครม จนเห็นสีเปลวไฟ แล้วส่องสีเปลวไฟด้วยกล้องสเปกโทรสโคป จะเห็นเส้นสเปกตรัมของโลหะได้

ตารางสีของเปลวไฟที่เกิดจากการเผาสารเมื่อดูด้วยตาเปล่า  และใช้เส้นสเปกโตรสโคป 


การเกิดเส้นสเปกตรัมของธาตุ 
        การเกิดเส้นสเปกตรัมของธาตุ เกิดจากเมื่ออะตอมได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงขึ้นจึงสามารถเคลื่อนที่ ไปอยู่ในระดับที่ไกลกว่าเดิม ซึ่งจะไกลเท่าใดขึ้นอยู่กับปริมาณพลังงานที่ได้รับ ภาวะนี้อะตอมจะไม่เสถียร เรียกว่า อยู่ในสถานะกระตุ้น (excited state) ดังนั้นอะตอมจึงมีการปรับตัวเข้าสู่ภาวะที่มีพลังงานต่ำ โดยอิเล็กตรอนจะคายพลังงานส่วนหนึ่งออกมา ซึ่งพลังงาน ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในรูปของพลังงานแสงเป็น เส้นสเปกตรัม


สเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจน 
              นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเส้นสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่มีอิเล็กตรอนเพียง 1 อิเล็กตรอน พบว่าธาตุไฮโดรเจนมีสเปกตรัมที่ปรากฏในช่วงแสงขาวเมื่อผ่านปริซึม ดังรูป


ตาราง ความยาวคลื่นและพลังงานของเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนที่มองเห็นได้


     จากตารางพบว่า  ผลต่างระหว่างพลังงานของเส้นสเปกตรัมสีม่วงกับเส้นสีน้ำเงิน ต่างกันน้อยที่สุด ส่วนเส้นสเปกตรัมสีน้ำทะเล กับเส้นสีแดงมีพลังงานต่างกันมากที่สุด แสดงว่าความแตกต่างระหว่างพลังงานของระดับพลังงานแต่ละระดับที่อยู่ถัดกันไป จะไม่เท่ากันตลอด และความแตกต่างจะมีค่าน้อยลงตามลำดับ เมื่อระดับพลังงานสูงขึ้นจะยิ่งอยู่ชิดกันขึ้น และการเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปยังระดับพลังงานที่อยู่ติดกัน อาจจะมีการเปลี่ยนข้ามระดับได้ แต่เมื่ออิเล็กตรอนรับพลังงานแล้วจะขึ้นไปอยู่ระหว่าง ระดับพลังงานไม่ได้ จะต้องขึ้นไปอยู่ในระดับใดระดับหนึ่งเสมอ

2.1.5.แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
       
       จากแบบจำลองอะตอมของโบร์ ไม่สามารถอธิบายสมบัติบางอย่างของธาตุที่มีหลายอิเล็กตรอนได้จึงมีการศึกษาเพิ่มเติมและเชื่อว่า อิเล็กตรอนมีสมบัติเป็นได้ทั้ง คลื่นและอนุภาคการศึกษาเพิ่มเติมและเชื่อว่า อิเล็กตรอนมีสมบัติเป็นได้ทั้ง คลื่นและอนุภาค

สรุปแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกแบบจำลองนี้เชื่อว่า
     1. อิเล็กตรอนไม่ได้เคลื่อนที่เป็นวงกลม แต่เคลื่อนที่ไปรอบๆนิวเคลียส
         เป็นรูปทรงต่างๆตามระดับพลังงาน
     2. ไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนไ้ด้ เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมาก
         และเคลื่อนที่รวดเร็วตลอดเวลาไปทั่วทั้งอะตอม
     3. อะตอมประกอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส บริเวณที่มีหมอกทึบ
         แสดงว่ามีโอกาสพบอิเล็กตรอนได้มากกว่าบริเวณที่มีหมอกจาง ดังรูปที่แสดงไว้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น