วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

กระบวนการเกิดหินงอก หินย้อย เกิดจากอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการเกิดหินงอก หินย้อย เกิดจากอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

         หินงอกหินย้อย คือปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งที่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายๆ พันหรือหมื่นปี ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักเกิดขึ้นในถ้ำหินปูน เพราะมีความชื้นอันเป็นปัจจัยของการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ประเภทนี้ ลักษณะของหินงอกหินย้อยนั้น เป็นหินที่ยื่นหรือหยดเข้าหากันคล้ายกับเป็นของเหลว โดยมากเราเรียกหินที่หยดลงมาจากด้านบนว่าหินย้อย และเรียกหินที่ยื่นขึ้นไปจากทางด้านล่างว่าหินงอก ซึ่งกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดสภาพนี้นั้นสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

1. หินงอกหินย้อยเกิดจากความชื้นต่างๆ ที่สะสมอยู่ในดิ้น คือเมื่อปลายยุคน้ำแข็ง หิมะเริ่มละลายตัว และความชื้นต่างๆ ก็ไหลมาสะสมในดิน หรือช่องว่างระหว่างดิน กลายเป็นธารน้ำใต้ดิน
2. เมื่อน้ำใต้ดินนั้นรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดกระบวนการสึกกร่อน และเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งเป็นกรดอ่อนชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อหินปูนนั้นเจอกับกรดคาร์บอนิกที่สามารถกัดกร่อนหินปูนได้นั้น ก็จะทำให้เกิดช่องว่างขึ้น เล็กบ้างใหญ่บ้าง ซึ่งเราเรียกช่องว่างที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่า ถ้ำ
3. หินย้อย เกิดได้จากกระบวนการเหล่านี้เอง คือกล่าวกันได้ว่า หินย้อยคือหินปูนที่ จับตัวกันเป็นแท่งหรือแผ่นย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ ซึ่งเมื่อมีน้ำที่มีหินปูนสะสมอยู่หยดลงมาตามรอยแตกหรือรอยแยก ซึ่งเมื่อน้ำนั้นสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป ก็จะทำให้เกิดสารประกอบประเภทคาร์บอเนต จากนั้นเมื่อเกิดการสะสมตัวพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดเป็นแท่งหินที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ โดยมากมักมีลักษณะกลวงด้านใน
4. หินงอก เป็นกระบวนการที่คล้ายกันก็คือ เกิดจากน้ำที่มีหินปูนสะสมอยู่ที่หยดลงมาจากเพดานถ้ำ สู่ชั้นหินเบื้องล่าง ความที่น้ำนั้นมีตะกอนหินปูนอยู่มาก เมื่อเกิดการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ไปจึงทำให้เกิดสะสมเป็นแท่ง ยื่นไปในอากาศสูงจากพื้นถ้ำ ซึ่งกระบวนการเกิดหินงอกหินย้อยนี้มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นเมื่อเกิดหินย้อยแล้วต้องมีหินงอกด้วย (ยกเว้นถ้ำที่ไม่มีพื้น) และเมื่อมีหินงอกต้องมีหินย้อยด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

สารประกอบไฮโดรคาร์บอน

        เป็นสารอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นหลัก ได้แก่  แอลเคน  แอลคีน แอลไคน์          
         1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล สารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิด จะประกอบด้วยธาตุ C และ H พันธะที่เกิดจาก C กับ C จะเป็นพันธะเดี่ยว (C - C), พันธะคู่ (C= C) หรือพันธะสาม (C = C) มีผลต่างของตัวอิเล็กโทรเนกาตีวิตีเป็นศูนย์ จึงเป็นพันธะไม่มีขั้วและพันธะที่เกิดจาก C กับ H มีผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมีค่าน้อยมาก จึงถือว่าเป็นพันธะไม่มีขั้ว ดังนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดจัดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างโมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ โมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วละลายน้ำได้โดยโมเลกุลของน้ำ จะหันขั้วที่มีอำนาจไฟฟ้าตรงกันข้าม เข้าดึงดูดกับโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วหรือไอออน น้ำที่ล้อมรอบจะมีจำนวนมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับขนาด และประจุของโมเลกุลหรือไอออน
          
          2. การเผาไหม้ การเผาไหม้ของสารใด ๆ คือ การที่สารชนิดหนึ่งทำปฏิกิริยากับออกซิเจน แล้วคายพลังงานออกมาลักษณะสำคัญของการเผาไหม้ของสาร              
             1. สารที่เผาไหม้ได้ดี และคายพลังงานออกมามาก ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน              
             2. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดการเผาไหม้กับก๊าซ O2 อย่างสมบูรณ์ จะให้ก๊าซ CO2 และ H2O พร้อมกับปล่อยความร้อนออกมาด้วย ดังสมการของการเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนดังนี้                  
            CxHy + (x+y/4)O2 ----> xCO2 + y/2H2O + พลังงาน 

              
3. การเผาไหม้ของสารใดเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน และการเผาไหม้ของสารทุกชนิดมีทั้งการสลายพันธะและสร้างพันธะใหม่ ด้วยเหตุนี้พลังงานที่ดูดเข้า  ไปทั้งหมดที่ใช้ในการสลายพันธะน้อยกว่าพลังงานที่เกิดจากการสร้างพันธะใหม่คายออกมา และเนื่องจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเผาไหม้ให้ความร้อนออกมามาก จึงใช้สารเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิง
              
              4. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ จะเผาไหม้กับ O2 ได้ดีกว่าโมเลกุลใหญ่ เช่น CH4 เผาไหม้กับ O2 ได้ดีกว่า C10H22 เป็นต้น              
              5. ปัจจัยที่มีผลต่อการเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
                  
                   - ปริมาณก๊าซออกซิเจน ถ้ามีก๊าซออกซิเจนมากจะเกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ ติดไฟให้เปลวไฟสว่าง แต่ไม่มีควันและเขม่า ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำและความร้อน แต่ถ้ามีก๊าซออกซิเจนน้อยจะเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ติดไฟให้เปลวไฟสว่าง แต่มีควันและเขม่าให้ผงถ่าน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ และความร้อน                  
                   - อัตราส่วนโดยอะตอมระหว่าง C กับ H ถ้าต่ำไม่มีควันเขม่า และถ้ามีค่าสูงจะมีควันเขม่ามาก ปริมาณควันเขม่า ? อัตราส่วนโดยอะตอมของ C กับ H                  
                   - จุดเดือด และจุดหลอมเหลว จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่ำ เมื่อเทียบกับสารอื่น ๆ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน                     
                   สารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกเดียวกัน จุดเดือด และจุดหลอมเหลวเปลี่ยนตามมวลโมเลกุล หรือจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เกิดขึ้น เช่น CH3CH3 มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูงกว่า CH4                     
                   สารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างชนิดที่มีคาร์บอนอะตอมเท่ากัน และคาร์บอนต่อกันเป็นโซ่ สายยาวเรียงลำดับจุดเดือดสูง ---> ต่ำ ดังนี้ แอลไคน์ > แอลเคน > แอลคีน                  
                   - ความหนาแน่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีความหนาแน่นต่ำ โดยทั่วไปความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ เช่น เพนเทน (C5H12) มีความหนาแน่น 0.626 g/cm3 ส่วนน้ำมีความหนาแน่น 1 g/cm3
                         
สถานะ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนจะมีสถานะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับมวลโมเลกุล หรือจำนวนคาร์บอนอะตอมเป็นเกณฑ์ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ใดมีมวลโมเลกุลน้อย (จำนวนคาร์บอนอะตอมน้อย) จะมีแรงแวนเดอร์วาลส์ต่ำ โมเลกุลอยู่ห่างกัน จะมีสถานะเป็นก๊าซ ส่วนประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลมาก (จำนวนคาร์บอนอะตอมมาก) จะมีแรงแวนเดอร์วาลส์สูง โมเลกุลอยู่ใกล้ชิดกันทำให้สถานะเป็นของแข็ง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีสถานะต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้                      
                       1. ก๊าซ ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มี C1 - C4 เช่น CH4, C2H6,C2H4                      
                       
                       2. ของเหลว ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน C5 - C17 เช่น C6H14, C8H18
                       
                       3. ของแข็ง ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน C8 ขึ้นไป เช่น C20H42 
                  
                       - การละลายน้ำ การที่สารใดละลายในอีกสารหนึ่งได้นั้น อนุภาคของตัวถูกทำลายจะต้องแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย   โดยเกิดแรงดึงดูดระหว่างตัวถูกละลายและตัวทำละลาย แล้วผสมเป็นสารเนื้อเดียว Rule of Thumb "Like dissolved like" จากกฎนี้จะได้ว่า โมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วจะละลายในโมเลกุลโคเวนเลนต์มีขั้ว โมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว จะละลายในโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว โมเลกุล โคเวเลนต์ใดที่ละลายน้ำได้ควรเป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว ดังนั้นจึงไม่ละลายน้ำ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนลอลายได้ดีในตัวทำลายที่เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว เช่น เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คลอโรฟรอม และไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ โมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วทุกชนิดละลายน้ำได้ และถ้าเป็นโคเวเลนต์มีขั้วที่มีสภาพขั้วแรงมากละลาย น้ำจะแตกเป็นไอออน เช่น HCI ส่วนโมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีขั่วที่มีสภาพขั่วไม่แรงละลายน้ำได้ไม่แตกเป็นไอออน   

       ที่มา: https://guru.sanook.com/2381/ 

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

ธาตุุเคมีที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก

ธาตุ                              ปริมาณโดยน้ำหนัก(ร้อยละ)                


ออกซิเจน(O)                           45.30

ซิลิกอน(Si)                              27.20


อะลูมินัม(Al)                             8.00
                        
เหล็ก(Fe)                                5.80



แคลเซียม(Ca)                         5.06



แมกนีเซียม(Mg)                      2.77



โซเดียม(Na)                           2.32
  
โพแทสเซียม(K)                      1.68



ไทเทเนียม(Ti)                         0.86



ไฮโดรเจน(H)                          0.14



แมงกานีส(Mn)                         0.10



ฟอสฟอรัส(P)                           0.10



ธาตุอื่นๆ(Others)                      0.77

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ไส้ดินสอทำมาจากอะไร

ไส้ดินสอดำ: ที่ใช้ทำการบ้านกันนั้นทำมาจากแร่แกรไฟต์ โดยนำแร่แกรไฟต์มาผสมกับดินเหนียวเพื่อให้มีความแข็งต่าง ๆ กัน แร่แกรไฟต์หรือแร่ดินสอดำ เป็นแร่ที่เป็นธาตุธรรมชาติ เป็นอัญรูปหนึ่งของคาร์บอนเช่นเดียวกับถ่านหินและเพชร แร่แกรไฟต์มีลักษณะทึบแสง วาว อ่อน ลื่นมือ มีสีดำหรือสีเทาคล้ายเหล็ก แร่แกรไฟต์พบเป็นผลึก เป็นแผ่น หรือเป็นเกล็ดอยู่ในสายแร่ หรือเป็นชั้นหรือกระจัดกระจายทั่วไปในหินแปร นอกจากนั้นแร่แกรไฟต์ยังนำความร้อนและกระแสไฟฟ้าได้ด้วย ประโยชน์ของแร่แกรไฟต์นอกจากใช้ทำไส้ดินสอแล้ว ยังใช้ทำเบ้าหลอมโลหะชนิดทนไฟ ใช้ผสมน้ำมัน ทำน้ำมันหล่อลื่น และใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในเตาถลุงไฟฟ้า 

แกรไฟต์: เป็นธาตุคาร์บอนในรูปแบบหนึ่ง จัดเป็นแร่เนื้ออ่อนที่มีโครงสร้างเป็นเกล็ดบางเป็นชั้นๆ เกาะกันอย่างไม่แข็งแรงนักและสามารถหลุดลอกได้ง่าย โดยการที่แกรไฟต์สามารถทำให้เกิดรอยบนกระดาษ หรือวัสดุได้นั้น เกิดจากการที่เมื่อกดแท่งแกรไฟต์ลงบนพื้นผิววัสดุหรือกระดาษ แกรไฟต์ชั้นบางๆ จะหลุดร่อน และลอกติดไปบนพื้นผิววัสดุทำให้เกิดรอยสีดำขึ้น


ไส้ดินสอทำมาจากอะไร
  

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ทองคำ : gold

ทองคำ : gold  ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีความแวววาวอยู่เสมอ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด  เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด



ทองคำ

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กรด - เบส คืออะไร


สารละลายกรด คือสารละลายที่มีรสเปรี้ยว เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง หรือทำปฏิกิริยากับโลหะได้ แก๊ส H 2 และ เกลือ
สารละลายเบส คือสารละลายที่มีรสขม เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน หรือมีลักษณะลื่นๆ

นิยามของกรด-เบส
Arrhenius Concept
กรด คือ สารประกอบที่มี H และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H + หรือ H 3O +
เบส คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH -
ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คือ สารประกอบต้องละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมสารประกอบบางชนิดเช่น NH 3 จึงเป็นเบส

Bronsted-Lowry Concept
กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน ( proton donor)แก่สารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน ( proton acceptor)จากสารอื่น
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงเป็นการถ่ายเทโปรตอนจากกรดไปยังเบสเช่น แอมโมเนียละลายในน้ำ
NH 3(aq) + H 2O (1)  NH 4 + (aq) + OH - (aq)
base 2 ........ acid 1 ........ acid 2 ........ base 1

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กฟผ.แม่เมาะ แจง ไม่ใช่ 'ไซยาไนด์' ยัน สารเคมีรั่วไหล ปลอดภัยแล้ว


       กฟผ.แม่เมาะ แจง เหตุสารเคมีรั่วไหล จนต้องอพยพพนักงาน ยัน ไม่ใช่ 'สารไซยาไนด์' แต่เป็น 'กรดไฮโดรคลอริก' มีกลิ่นฉุน ล่าสุด สามารถเข้าทำงานปกติได้แล้ว ไร้คนเจ็บหรือเป็นอันตราย เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 6 พ.ค.61 นายประทีป พันธ์ยก หมวดความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มปอ.-หม. กฟผ.แม่เมา  อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นำผู้สื่อข่าวลงพื้นที่จุดที่เกิดสารเคมีรั่วไหล ที่บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน 4-7
  
      พร้อมเปิดเผยว่า จากกรณีที่มีสื่อบางสำนักได้นำเสนอข่าวออกไปว่าที่จุดดังกล่าวมีสารไซยาไนด์รั่วไหลนั้นขอชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงเพราะที่ กฟผ.ไม่ได้นำสารไซยาไนด์รั่วไหลนั้นขอชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงเพราะที่ กฟผ.ไม่ได้นำสารเคมีดังกล่าวมาใช้ แต่ยอมรับว่าบริเวณจุดข้อต่อใกล้กับใต้ถังที่เก็บกรดไฮโดรคลอริก ซึ่งใช้ในการปรับสภาพน้ำ เกิดมีการรั่วหรือซึมเพียงเล็กน้อย ลักษณะเหมือนน้ำหยด ซึ่งกรดดังกล่าวเมื่อถูกน้ำจะเกิดเกิดเป็นไอ เมื่อมีลมพัดมาจึงทำให้กระจายไปและมีกลิ่นฉุน ซึ่งตามมาตรการด้านความปลอดภัยจึงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย เพื่อรอการแก้ไข 


กรดไฮโดรคลอริก

กรดเกลือ หรือเรียกอีกชื่อ กรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นกรดที่มีใช้กันมากในอุตสาหกรรม มีสถานะเป็นของเหลวที่มีค่าความเข้มข้นต่างๆ เช่น กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น และกรดไฮโดรคลอริก 35%  และ 37% จัดเป็นกรดแก่ ใช้มากในการผลิตคลอไรด์ อุตสาหกรรมสี ชุบโลหะ ใช้ถลุงแร่เพื่อผลิต ดีบุก และแทนทาลัม, ใช้ในการปรับความเป็นกรด-ด่าง โดยเฉพาะสารที่เป็นด่างให้มีความเป็นกรด ใช้ Hydrolized แป้ง และโปรตีน เพื่อผลิตอาหารรูปแบบต่าง ๆ ใช้กัดผิว และทำความสะอาดผิวโลหะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ลักษณะเฉพาะ
กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ถูกค้นพบครั้งแรกด้วยนักเล่นแร่แปลธาตุชื่อ จารเบียร์ เฮย์ยัน มีลักษณะจำเพาะ ดังนี้
1. เป็นของเหลวไม่มีสีหรือมีสีใสออกเหลือง มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน ไม่เป็นสารไวไฟ
2. ระเหยเป็นไอได้รวดเร็ว ไอเป็นกรดมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ
3. เป็นกรดแก่
4. มีมวล 36.46 กรัม/โมล
5. ความหนาแน่น 1.18 กรัม/ลบ.ซม.
6. จุดหลอมเหลว -27.32 องศาเซลเซียส
7. จุดเดือด 110 องศาเซลเซียส

ประโยชน์ และการนำไปใช้
– ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี
– ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้มากในระบบบำบัดน้ำเสีย
– ใช้ในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
– ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
– ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
– ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ
– ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
– ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำหรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือใช้ฆ่าเชื้อได้โดยตรง

   ที่มา:https://www.thairath.co.th/content/1274604,http://www.siamchemi.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD/



วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบธาตุชนิดใหม่อีก 4 ชนิด พร้อมบรรจุลงสู่ตารางธาตุอย่างเป็นทางการ

      PeriodicTable

     เมื่อพูดถึงตารางธาตุนักเรียนทั้งหลายก็คงจะต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี เราอาจจะต้องเคยท่องกันว่าธาตูบนโลกนี้มีทั้งหมดกี่ธาตู มีกี่กลุ่ม ซึ่งหลังจากนี้ไปเราคงจะต้องทำการจดจำกันเพิ่มอีกครั้ง เพราะด้วยที่ว่าทาง International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ IUPAC (สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ) ได้ทำการประกาศอย่างเป็นทางการในการเพิ่มธาตุชนิดใหม่เข้าสู่ตารางธาตุอีก 4 ชนิดด้วยกันคือ Nihonium (Nh), Moscovium (Mc), Tennessine (Ts), และ Oganesson (Og) หรือในชื่อเดิมที่พอจะรู้จักกันในกลุ่มนักเคมีที่มีการใช้ชื่อว่า ununtrium, ununpentium, ununseptium, และ ununoctium 
      
     สำหรับธาตุชนิดใหม่ทั้ง 4 ชนิดที่ถูกเพิ่มเข้ามานั้นทางสหภาพเคมีฯ ได้ทำการเพิ่มธาตุเหล่านี้เข้าไปอยู่ในตารางลำดับที่ 113, 115, 117 และ 118 และสำหรับธาตุในลำดับที่ใกล้เคียงกันอย่าง 114 และ 116 นั้นทางสหภาพเคมีก็เพิ่มจะมีการเพิ่มเข้าไปในปี 2012 ที่ผ่านมา ทั้งนี้สำหรับธาตุทั้ง 4 ชนิดที่เพิ่งจะทำการเพิ่มเข้าไปในเวลานี้นั้น ในความเป็นจริงแล้วทางนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้จะเพิ่งค้นพบหรือสร้างขึ้นแต่อย่างใด มันมีการถูกค้นพบมานานแล้วในระหว่างปี 2002 และปี 2010 แต่ทว่าทางกลุ่มนักวิทยาศาตร์เพิ่งจะมีการตั้งชื่อและส่งชื่อเข้าไปยังทางสหภาพเคมีฯเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และหลังจากรออยู่ 5 เดือนทางสหภาพเคมีฯจึงจะทำประกาศรับรองและใส่ลงไปในตารางธาตุอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้สำหรับธาตุทั้ง 4 ตามที่ได้กล่าวไปนั้นไม่สามารถพบเจอได้ตามธรรมชาติแต่อย่างใด ซึ่งมันจะเป็นธาตุที่ได้รับการสังเคาระห์ขึ้นมาโดยนักวิทยาศาสตร์จาก ญี่ปุ่น รัสเซียและสหรัฐอเมริกา สำหรับธาตุที่ถูกคิดค้นแล้วสังเคราะห์โดยนักวิทยาศาสตร์จากชาิตต่าง ๆ มีรายละเอียดตามรายการด้านล่างดังต่อไปนี้
  • ญี่ปุ่น – ธาตุลำดับที่ 113 ซึ่งใช้ชื่อว่า Nihonium แปลงมาจากภาษาญี่ปุ่นที่เรียกว่า “Nihon” 
  • รัสเซีย – ธาตุลำดับที่ 115 ที่ใช้ชื่อว่า Moscovium ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามเมืองหลวงของรัสเซีย
  • รัสเซีย+สหรัฐฯ – ธาตุในลำดับที่ 118 ที่ใช้ชื่อว่า Oganesson โดยเป็นชื่อที่ตั้งมาจากนักฟิสิกส์ชาวรัสเซียที่ทำการช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งมีชื่อว่า Yuri Oganessian
  • สหรัฐฯ – ธาตุในลำดับที่ 117 ใช้ชื่อว่า Tennessine คิดค้นโดย Oak Ridge National Laboratory scientists และตั้งชื่อตามเมืองที่ตั้งของสถาบัน ทั้งนี้ทางสถาบันดังกล่าวนี้ยังได้ให้ความช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์รัสเซียในการคิดค้นธาตุในลำดับที่ 115 อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปฏิรูปการศึกษา กับตารางธาตุรูปแบบใหม่ ที่บอกหมดว่าธาตุไหนใช้ทำอะไร



     "ปฏิรูปการศึกษา" กับการเปลี่ยนตารางธาตุแบบเดิมๆ มาเป็นตารางธาตุแบบ Interactiveที่สามารถบอกได้หมด ว่าธาตุตัวไหนเป็นส่วนประกอบของอะไร หรือนำมาใช้ผลิตเป็นอะไรได้บ้าง ซึ่งเป็นตารางธาตุโฉมใหม่ที่ดูมีสีสัน น่าสนุกและทำให้เด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าตารางธาตุแบบเดิมๆ อย่างมากมาย
ซึ่งตารางธาตุแบบ Interactive นี้ เป็นผลงานของเว็บไซต์ elements.wlonk.com มีการแสดงรูปภาพน่ารักๆ กำกับเอาไว้ที่ธาตุแต่ละตัว เพื่อบอกว่าธาตุตัวนั้นใช้ทำอะไรได้ และถ้าต้องการดูรายละเอียดให้ลึกขึ้น ก็สามารถคลิกเมาส์ที่ธาตุตัวนั้นได้เลย 


วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เกาหลีใต้ประกาศเขตภัยพิบัติ หลังสารเคมีรั่วไหล-เสียหายหนัก

           วันนี้ (8 ตุลาคม) เว็บไซต์เทเลกราฟของอังกฤษ รายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศพื้นที่เขตภัยพิบัติพิเศษ (special disaster) บริเวณพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศในวันนี้ หลังเกิดอุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหล จากการระเบิดภายในโรงงานผลิตสารเคมีแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา

          โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา เกิดเหตุกรดไฮโดรฟลูออริก หรือกรดกัดแก้ว ปริมาณสูงถึง 8 ตัน รั่วไหลออกจากโรงงานผลิตสารเคมี ใกล้กับเมืองกูมิ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเกาหลีใต้ ส่งผลให้มีคนงานเสียชีวิต 5 ศพ เนื่องจากสารเคมีระเบิดขณะทำการขนย้าย และประชาชนกว่า 3,000 คน ล้มป่วยด้วยอาการคลื่นไส้ มีผื่นคันตามร่างกาย รวมถึงเจ็บคอและเจ็บหน้าอก มีเลือดในน้ำลายด้วย 

เกาหลีใต้ประกาศเขตภัยพิบัติ หลังสารเคมีรั่วไหล-เสียหายหนัก

    Hydrofluoric acid
    ชื่อ กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) ชื่ออื่น Hydrogen fluoride          solution
    สูตรโมเลกุล HF  น้ำหนักโมเลกุล 20.01 CAS Number 7664-39-        3 UN Number 1052
    ลักษณะทางกายภาพ ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความ              ระคายเคือง
    คำอธิบาย กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric            acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride)      ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้      ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความ          รุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว          ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไป        กัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้          ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate)