วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

กระบวนการเกิดหินงอก หินย้อย เกิดจากอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการเกิดหินงอก หินย้อย เกิดจากอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

         หินงอกหินย้อย คือปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งที่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายๆ พันหรือหมื่นปี ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักเกิดขึ้นในถ้ำหินปูน เพราะมีความชื้นอันเป็นปัจจัยของการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ประเภทนี้ ลักษณะของหินงอกหินย้อยนั้น เป็นหินที่ยื่นหรือหยดเข้าหากันคล้ายกับเป็นของเหลว โดยมากเราเรียกหินที่หยดลงมาจากด้านบนว่าหินย้อย และเรียกหินที่ยื่นขึ้นไปจากทางด้านล่างว่าหินงอก ซึ่งกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดสภาพนี้นั้นสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

1. หินงอกหินย้อยเกิดจากความชื้นต่างๆ ที่สะสมอยู่ในดิ้น คือเมื่อปลายยุคน้ำแข็ง หิมะเริ่มละลายตัว และความชื้นต่างๆ ก็ไหลมาสะสมในดิน หรือช่องว่างระหว่างดิน กลายเป็นธารน้ำใต้ดิน
2. เมื่อน้ำใต้ดินนั้นรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดกระบวนการสึกกร่อน และเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งเป็นกรดอ่อนชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อหินปูนนั้นเจอกับกรดคาร์บอนิกที่สามารถกัดกร่อนหินปูนได้นั้น ก็จะทำให้เกิดช่องว่างขึ้น เล็กบ้างใหญ่บ้าง ซึ่งเราเรียกช่องว่างที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่า ถ้ำ
3. หินย้อย เกิดได้จากกระบวนการเหล่านี้เอง คือกล่าวกันได้ว่า หินย้อยคือหินปูนที่ จับตัวกันเป็นแท่งหรือแผ่นย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ ซึ่งเมื่อมีน้ำที่มีหินปูนสะสมอยู่หยดลงมาตามรอยแตกหรือรอยแยก ซึ่งเมื่อน้ำนั้นสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป ก็จะทำให้เกิดสารประกอบประเภทคาร์บอเนต จากนั้นเมื่อเกิดการสะสมตัวพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดเป็นแท่งหินที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ โดยมากมักมีลักษณะกลวงด้านใน
4. หินงอก เป็นกระบวนการที่คล้ายกันก็คือ เกิดจากน้ำที่มีหินปูนสะสมอยู่ที่หยดลงมาจากเพดานถ้ำ สู่ชั้นหินเบื้องล่าง ความที่น้ำนั้นมีตะกอนหินปูนอยู่มาก เมื่อเกิดการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ไปจึงทำให้เกิดสะสมเป็นแท่ง ยื่นไปในอากาศสูงจากพื้นถ้ำ ซึ่งกระบวนการเกิดหินงอกหินย้อยนี้มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นเมื่อเกิดหินย้อยแล้วต้องมีหินงอกด้วย (ยกเว้นถ้ำที่ไม่มีพื้น) และเมื่อมีหินงอกต้องมีหินย้อยด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

สารประกอบไฮโดรคาร์บอน

        เป็นสารอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นหลัก ได้แก่  แอลเคน  แอลคีน แอลไคน์          
         1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล สารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิด จะประกอบด้วยธาตุ C และ H พันธะที่เกิดจาก C กับ C จะเป็นพันธะเดี่ยว (C - C), พันธะคู่ (C= C) หรือพันธะสาม (C = C) มีผลต่างของตัวอิเล็กโทรเนกาตีวิตีเป็นศูนย์ จึงเป็นพันธะไม่มีขั้วและพันธะที่เกิดจาก C กับ H มีผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมีค่าน้อยมาก จึงถือว่าเป็นพันธะไม่มีขั้ว ดังนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดจัดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างโมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ โมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วละลายน้ำได้โดยโมเลกุลของน้ำ จะหันขั้วที่มีอำนาจไฟฟ้าตรงกันข้าม เข้าดึงดูดกับโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วหรือไอออน น้ำที่ล้อมรอบจะมีจำนวนมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับขนาด และประจุของโมเลกุลหรือไอออน
          
          2. การเผาไหม้ การเผาไหม้ของสารใด ๆ คือ การที่สารชนิดหนึ่งทำปฏิกิริยากับออกซิเจน แล้วคายพลังงานออกมาลักษณะสำคัญของการเผาไหม้ของสาร              
             1. สารที่เผาไหม้ได้ดี และคายพลังงานออกมามาก ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน              
             2. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดการเผาไหม้กับก๊าซ O2 อย่างสมบูรณ์ จะให้ก๊าซ CO2 และ H2O พร้อมกับปล่อยความร้อนออกมาด้วย ดังสมการของการเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนดังนี้                  
            CxHy + (x+y/4)O2 ----> xCO2 + y/2H2O + พลังงาน 

              
3. การเผาไหม้ของสารใดเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน และการเผาไหม้ของสารทุกชนิดมีทั้งการสลายพันธะและสร้างพันธะใหม่ ด้วยเหตุนี้พลังงานที่ดูดเข้า  ไปทั้งหมดที่ใช้ในการสลายพันธะน้อยกว่าพลังงานที่เกิดจากการสร้างพันธะใหม่คายออกมา และเนื่องจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเผาไหม้ให้ความร้อนออกมามาก จึงใช้สารเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิง
              
              4. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ จะเผาไหม้กับ O2 ได้ดีกว่าโมเลกุลใหญ่ เช่น CH4 เผาไหม้กับ O2 ได้ดีกว่า C10H22 เป็นต้น              
              5. ปัจจัยที่มีผลต่อการเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
                  
                   - ปริมาณก๊าซออกซิเจน ถ้ามีก๊าซออกซิเจนมากจะเกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ ติดไฟให้เปลวไฟสว่าง แต่ไม่มีควันและเขม่า ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำและความร้อน แต่ถ้ามีก๊าซออกซิเจนน้อยจะเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ติดไฟให้เปลวไฟสว่าง แต่มีควันและเขม่าให้ผงถ่าน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ และความร้อน                  
                   - อัตราส่วนโดยอะตอมระหว่าง C กับ H ถ้าต่ำไม่มีควันเขม่า และถ้ามีค่าสูงจะมีควันเขม่ามาก ปริมาณควันเขม่า ? อัตราส่วนโดยอะตอมของ C กับ H                  
                   - จุดเดือด และจุดหลอมเหลว จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่ำ เมื่อเทียบกับสารอื่น ๆ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน                     
                   สารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกเดียวกัน จุดเดือด และจุดหลอมเหลวเปลี่ยนตามมวลโมเลกุล หรือจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เกิดขึ้น เช่น CH3CH3 มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูงกว่า CH4                     
                   สารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างชนิดที่มีคาร์บอนอะตอมเท่ากัน และคาร์บอนต่อกันเป็นโซ่ สายยาวเรียงลำดับจุดเดือดสูง ---> ต่ำ ดังนี้ แอลไคน์ > แอลเคน > แอลคีน                  
                   - ความหนาแน่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีความหนาแน่นต่ำ โดยทั่วไปความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ เช่น เพนเทน (C5H12) มีความหนาแน่น 0.626 g/cm3 ส่วนน้ำมีความหนาแน่น 1 g/cm3
                         
สถานะ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนจะมีสถานะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับมวลโมเลกุล หรือจำนวนคาร์บอนอะตอมเป็นเกณฑ์ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ใดมีมวลโมเลกุลน้อย (จำนวนคาร์บอนอะตอมน้อย) จะมีแรงแวนเดอร์วาลส์ต่ำ โมเลกุลอยู่ห่างกัน จะมีสถานะเป็นก๊าซ ส่วนประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลมาก (จำนวนคาร์บอนอะตอมมาก) จะมีแรงแวนเดอร์วาลส์สูง โมเลกุลอยู่ใกล้ชิดกันทำให้สถานะเป็นของแข็ง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีสถานะต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้                      
                       1. ก๊าซ ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มี C1 - C4 เช่น CH4, C2H6,C2H4                      
                       
                       2. ของเหลว ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน C5 - C17 เช่น C6H14, C8H18
                       
                       3. ของแข็ง ได้แก่ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน C8 ขึ้นไป เช่น C20H42 
                  
                       - การละลายน้ำ การที่สารใดละลายในอีกสารหนึ่งได้นั้น อนุภาคของตัวถูกทำลายจะต้องแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย   โดยเกิดแรงดึงดูดระหว่างตัวถูกละลายและตัวทำละลาย แล้วผสมเป็นสารเนื้อเดียว Rule of Thumb "Like dissolved like" จากกฎนี้จะได้ว่า โมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วจะละลายในโมเลกุลโคเวนเลนต์มีขั้ว โมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว จะละลายในโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว โมเลกุล โคเวเลนต์ใดที่ละลายน้ำได้ควรเป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว ดังนั้นจึงไม่ละลายน้ำ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนลอลายได้ดีในตัวทำลายที่เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว เช่น เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คลอโรฟรอม และไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ โมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วทุกชนิดละลายน้ำได้ และถ้าเป็นโคเวเลนต์มีขั้วที่มีสภาพขั้วแรงมากละลาย น้ำจะแตกเป็นไอออน เช่น HCI ส่วนโมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีขั่วที่มีสภาพขั่วไม่แรงละลายน้ำได้ไม่แตกเป็นไอออน   

       ที่มา: https://guru.sanook.com/2381/ 

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

ธาตุุเคมีที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก

ธาตุ                              ปริมาณโดยน้ำหนัก(ร้อยละ)                


ออกซิเจน(O)                           45.30

ซิลิกอน(Si)                              27.20


อะลูมินัม(Al)                             8.00
                        
เหล็ก(Fe)                                5.80



แคลเซียม(Ca)                         5.06



แมกนีเซียม(Mg)                      2.77



โซเดียม(Na)                           2.32
  
โพแทสเซียม(K)                      1.68



ไทเทเนียม(Ti)                         0.86



ไฮโดรเจน(H)                          0.14



แมงกานีส(Mn)                         0.10



ฟอสฟอรัส(P)                           0.10



ธาตุอื่นๆ(Others)                      0.77