วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบธาตุชนิดใหม่อีก 4 ชนิด พร้อมบรรจุลงสู่ตารางธาตุอย่างเป็นทางการ

      PeriodicTable

     เมื่อพูดถึงตารางธาตุนักเรียนทั้งหลายก็คงจะต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี เราอาจจะต้องเคยท่องกันว่าธาตูบนโลกนี้มีทั้งหมดกี่ธาตู มีกี่กลุ่ม ซึ่งหลังจากนี้ไปเราคงจะต้องทำการจดจำกันเพิ่มอีกครั้ง เพราะด้วยที่ว่าทาง International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ IUPAC (สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ) ได้ทำการประกาศอย่างเป็นทางการในการเพิ่มธาตุชนิดใหม่เข้าสู่ตารางธาตุอีก 4 ชนิดด้วยกันคือ Nihonium (Nh), Moscovium (Mc), Tennessine (Ts), และ Oganesson (Og) หรือในชื่อเดิมที่พอจะรู้จักกันในกลุ่มนักเคมีที่มีการใช้ชื่อว่า ununtrium, ununpentium, ununseptium, และ ununoctium 
      
     สำหรับธาตุชนิดใหม่ทั้ง 4 ชนิดที่ถูกเพิ่มเข้ามานั้นทางสหภาพเคมีฯ ได้ทำการเพิ่มธาตุเหล่านี้เข้าไปอยู่ในตารางลำดับที่ 113, 115, 117 และ 118 และสำหรับธาตุในลำดับที่ใกล้เคียงกันอย่าง 114 และ 116 นั้นทางสหภาพเคมีก็เพิ่มจะมีการเพิ่มเข้าไปในปี 2012 ที่ผ่านมา ทั้งนี้สำหรับธาตุทั้ง 4 ชนิดที่เพิ่งจะทำการเพิ่มเข้าไปในเวลานี้นั้น ในความเป็นจริงแล้วทางนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้จะเพิ่งค้นพบหรือสร้างขึ้นแต่อย่างใด มันมีการถูกค้นพบมานานแล้วในระหว่างปี 2002 และปี 2010 แต่ทว่าทางกลุ่มนักวิทยาศาตร์เพิ่งจะมีการตั้งชื่อและส่งชื่อเข้าไปยังทางสหภาพเคมีฯเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และหลังจากรออยู่ 5 เดือนทางสหภาพเคมีฯจึงจะทำประกาศรับรองและใส่ลงไปในตารางธาตุอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้สำหรับธาตุทั้ง 4 ตามที่ได้กล่าวไปนั้นไม่สามารถพบเจอได้ตามธรรมชาติแต่อย่างใด ซึ่งมันจะเป็นธาตุที่ได้รับการสังเคาระห์ขึ้นมาโดยนักวิทยาศาสตร์จาก ญี่ปุ่น รัสเซียและสหรัฐอเมริกา สำหรับธาตุที่ถูกคิดค้นแล้วสังเคราะห์โดยนักวิทยาศาสตร์จากชาิตต่าง ๆ มีรายละเอียดตามรายการด้านล่างดังต่อไปนี้
  • ญี่ปุ่น – ธาตุลำดับที่ 113 ซึ่งใช้ชื่อว่า Nihonium แปลงมาจากภาษาญี่ปุ่นที่เรียกว่า “Nihon” 
  • รัสเซีย – ธาตุลำดับที่ 115 ที่ใช้ชื่อว่า Moscovium ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามเมืองหลวงของรัสเซีย
  • รัสเซีย+สหรัฐฯ – ธาตุในลำดับที่ 118 ที่ใช้ชื่อว่า Oganesson โดยเป็นชื่อที่ตั้งมาจากนักฟิสิกส์ชาวรัสเซียที่ทำการช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งมีชื่อว่า Yuri Oganessian
  • สหรัฐฯ – ธาตุในลำดับที่ 117 ใช้ชื่อว่า Tennessine คิดค้นโดย Oak Ridge National Laboratory scientists และตั้งชื่อตามเมืองที่ตั้งของสถาบัน ทั้งนี้ทางสถาบันดังกล่าวนี้ยังได้ให้ความช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์รัสเซียในการคิดค้นธาตุในลำดับที่ 115 อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปฏิรูปการศึกษา กับตารางธาตุรูปแบบใหม่ ที่บอกหมดว่าธาตุไหนใช้ทำอะไร



     "ปฏิรูปการศึกษา" กับการเปลี่ยนตารางธาตุแบบเดิมๆ มาเป็นตารางธาตุแบบ Interactiveที่สามารถบอกได้หมด ว่าธาตุตัวไหนเป็นส่วนประกอบของอะไร หรือนำมาใช้ผลิตเป็นอะไรได้บ้าง ซึ่งเป็นตารางธาตุโฉมใหม่ที่ดูมีสีสัน น่าสนุกและทำให้เด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าตารางธาตุแบบเดิมๆ อย่างมากมาย
ซึ่งตารางธาตุแบบ Interactive นี้ เป็นผลงานของเว็บไซต์ elements.wlonk.com มีการแสดงรูปภาพน่ารักๆ กำกับเอาไว้ที่ธาตุแต่ละตัว เพื่อบอกว่าธาตุตัวนั้นใช้ทำอะไรได้ และถ้าต้องการดูรายละเอียดให้ลึกขึ้น ก็สามารถคลิกเมาส์ที่ธาตุตัวนั้นได้เลย 


วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เกาหลีใต้ประกาศเขตภัยพิบัติ หลังสารเคมีรั่วไหล-เสียหายหนัก

           วันนี้ (8 ตุลาคม) เว็บไซต์เทเลกราฟของอังกฤษ รายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศพื้นที่เขตภัยพิบัติพิเศษ (special disaster) บริเวณพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศในวันนี้ หลังเกิดอุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหล จากการระเบิดภายในโรงงานผลิตสารเคมีแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา

          โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา เกิดเหตุกรดไฮโดรฟลูออริก หรือกรดกัดแก้ว ปริมาณสูงถึง 8 ตัน รั่วไหลออกจากโรงงานผลิตสารเคมี ใกล้กับเมืองกูมิ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเกาหลีใต้ ส่งผลให้มีคนงานเสียชีวิต 5 ศพ เนื่องจากสารเคมีระเบิดขณะทำการขนย้าย และประชาชนกว่า 3,000 คน ล้มป่วยด้วยอาการคลื่นไส้ มีผื่นคันตามร่างกาย รวมถึงเจ็บคอและเจ็บหน้าอก มีเลือดในน้ำลายด้วย 

เกาหลีใต้ประกาศเขตภัยพิบัติ หลังสารเคมีรั่วไหล-เสียหายหนัก

    Hydrofluoric acid
    ชื่อ กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) ชื่ออื่น Hydrogen fluoride          solution
    สูตรโมเลกุล HF  น้ำหนักโมเลกุล 20.01 CAS Number 7664-39-        3 UN Number 1052
    ลักษณะทางกายภาพ ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความ              ระคายเคือง
    คำอธิบาย กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric            acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride)      ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้      ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความ          รุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว          ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไป        กัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้          ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate)